วิสัยทัศน์ (Vision)
จากการประชุมประชาคมตำบล เพื่อระดมความคิด สรุปสภาพปัญหา/ความต้องการของประชาชนในตำบลจะกง รวมถึงการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลจะกงและคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลจะกงได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อเป็นสภาพการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นความมุ่งหมายและปรารถนา คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นหรือบรรลุผลในอนาคตข้างหน้า ตำบลจะกงเป็นตำบลที่มีประชาชนส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่หนาแน่นและสงบสุข และคาดว่าในอนาคตต้องเป็นชุมชนที่สงบสุขน่าอยู่ น่าอาศัยและมีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมดี จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
2.2 ยุทธศาสตร์ :
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าประสงค์
(1) ก่อสร้าง ปรับปรุงพัฒนาถนนภายในตำบล และระหว่างตำบลให้เป็นมาตรฐาน
(2) ประชาชนมีน้ำ ในการอุปโภคบริโภคที่สะอาด ปลอดภัย และทำการเกษตรอย่างทั่วถึง
(3) ประชาชนสามารถดูแลรักษาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
(1) ร้อยละการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน สะพาน ทางสาธารณะประโยชน์
(2) ร้อยละการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
(3) ร้อยละการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ขยายเขตไฟฟ้าในครัวเรือน และติดตั้งไฟฟ้า
สาธารณะ
(4) ร้อยละการก่อสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์
(5) ร้อยละของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ค่าเป้าหมาย
ร้อยละ 20 ของ
- การก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนน สะพาน ทางสาธารณะประโยชน์
ร้อยละ 10 ของ
- การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
- การขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ขยายเขตไฟฟ้าในครัวเรือน และติดตั้งไฟฟ้า สาธารณะ
- การก่อสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์
ร้อยละ 5 ของ
- ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กลยุทธ์
(1) พัฒนาและปรับปรุงระบบการคมนาคมและขนส่งให้ได้มาตรฐาน
(2) พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่ชุมชนน่าอยู่
(3) พัฒนาสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
เป้าประสงค์
(1) ประชาชนมีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความมั่งคงทางเศรษฐกิจ
ตัวชี้วัด
(1) ร้อยละของประชาชนที่มีทักษะในการผลิตผลทางเกษตรอินทรีย์
(2) ร้อยละครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ
ค่าเป้าหมาย
ร้อยละ 40 ของ
- ของประชาชนที่มีทักษะในการผลิตผลทางเกษตรอินทรีย์
ร้อยละ 20 ของ
- ครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ
กลยุทธ์
(1) ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอินทรีย์
(2) ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
เป้าประสงค์
(1) เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
(2) สตรี ผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ผู้ป่วยเอดส์และผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง
และเหมาะสม
(3) ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีถ้วนหน้า
(4) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ตัวชี้วัด
(1) ร้อยละประชาชนที่ได้รับการศึกษาและศึกษาเพิ่มขึ้น
(2) จำนวนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น
(3) ร้อยละประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี
(4) ร้อยละชุมชนที่มีความสงบสุขพึงปรารถนาร่วมกัน
ค่าเป้าหมาย
ร้อยละ 20 ของ
- ประชาชนที่ได้รับการศึกษาและศึกษาเพิ่มขึ้น
- จำนวนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 80 ของ
- ประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี
- ชุมชนที่มีความสงบสุขพึงปรารถนาร่วมกัน
กลยุทธ์
(1) ส่งเสริมการศึกษา คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม การศาสนา จารีตประเพณีและภูมิปัญญา
ท้องถิ่น
(2) ส่งเสริมกีฬา นันทนาการและกิจกรรมเด็กเยาวชน
(3) ส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาส
(4) ส่งเสริมด้านสาธารณสุขและอนามัย
(5) ส่งเสริมเพิ่มศักยภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์ อปพร.
(6) ส่งเสริมการจัดระเบียบของหมู่บ้าน/ชุมชน
(7) ส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
เป้าประสงค์
(1) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเมืองการปกครองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
(2) ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น
(3) ประชาชนมีความพึงพอใจในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ
ตัวชี้วัด
(1) ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
(2) ร้อยละของข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไข
(3) ร้อยผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
(4) ร้อยละของการบริการที่สามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาให้บริการ
(5) ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาขีดสมรรถนะตามแผนพัฒนาบุคลากร
ค่าเป้าหมาย
ร้อยละ 80 ของ
- ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
- ของข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ที่ได้รับการแก้ไข
ร้อยละ 60 ของ
- ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมืองและสังคม
ร้อยละ 20 ของ
- ของการบริการที่สามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาให้บริการ
- ของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาขีดสมรรถนะตามแผนพัฒนา
กลยุทธ์
(1) ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการประชาชน
(2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
(3) ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย
(4) ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร
(5) ส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพบุคลากร
2.3 จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)
ด้วยสภาพพื้นที่ของตำบลจะกงที่เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำการเกษตร มีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร ประชาชนมีความรักสามัคคี มีการรักษาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงาม จึงกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ของตำบลจะกงดังนี้
2.4 ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม
ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ชาติกับแผนในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจะกง
3. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3.1 การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของตำบลจะกงและองค์การบริหารส่วนตำบลจะกงเป็นการประเมินจุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) ของตำบลจะกง อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายใน รวมถึงโอกาส (Opportunity) และภาวะคุกคามหรือข้อจำกัด (Threat) ซึ่งเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้รู้จักตนเองและรู้จักสภาพแวดล้อมในการบริหารและบริการสาธารณะ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยระบบ SWOT analysis เพื่อพิจารณาศักยภาพการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลจะกงในภาพรวม ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อการพัฒนาท้องถิ่น
จุดแข็ง (Strength : S)
|
จุดอ่อน (Weakness : W)
|
1. ประชาชนมีคุณภาพ และมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพชีวิต
2. ชุมชนเข้มแข็งได้รับการบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วนสมบูรณ์
3. มีโรงเรียนประถมศึกษา-มัธยมศึกษา 4 แห่ง สามารถรองรับการเรียนของเด็กนักเรียนได้อย่างเพียงพอ
4. ผู้นำชุมชนสมานสามัคคีไม่มีปัญหาในด้านการร่วมกันในการปกครองและบริหารการพัฒนา
5. องค์การบริหารส่วนตำบล มีศักยภาพเพียงพอที่รองรับการบริการสาธารณะและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และสามารถรองรับการขยายตัวของประชาชน
|
1. เป็นชุมชนดั้งเดิมมีบ้านเรือนของประชาชนปลูกสร้างอยู่หนาแน่นและบางส่วนเป็นบ้านไม้แออัด
2. ขาดระบบการจัดการด้านผังหมู่บ้าน ผังตำบล
3. เป็นสังคมขาดประสบการณ์การประกอบอาชีพ ไม่สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจ ของชุมชนในรูปของกลุ่มอาชีพอย่างเข้มแข็ง
4. บางส่วนเป็นชุมชนแออัด ขาดการให้ความร่วมมือกิจกรรมของชุมชน
5. เด็กและเยาวชนบางส่วนมีพฤติกรรมไม่ศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น
6. ผู้ปกครองขาดความมั่นใจสถานศึกษาในพื้นที่นำลูกหลานไปศึกษาสถาบันการศึกษาในเมือง
|
ศักยภาพ / โอกาส (Opportunity : O)
|
อุปสรรค / ข้อจำกัด (Threat : T)
|
1. กฎหมายและนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. จังหวัดศรีสะเกษสามารถสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีแผนงานโครงการตามแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
3. เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบทางการเกษตร มีร้านรับซื้อสินค้าทางการเกษตรใกล้พื้นที่ เป็นการลดต้นทุนการขนส่งสินค้าทางการเกษตร
4. มีเส้นทางคมนาคมสายหลักเชื่อมไปสู่ภาคอีสานหลายจังหวัดผ่านจำนวน 2 สาย
|
1. ความไม่แน่นอนของราคาพืชผลทางการเกษตร ราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่มีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มผลประโยชน์และพ่อค้าคนกลาง รวมทั้งปัจจัยการผลิตมีการปรับราคาสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตภาคการเกษตรปรับสูงขึ้น
2. การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับท้องถิ่นมีน้อย
3.
|
|